เมนู

6. อกตํ ทุกฺกตํ เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกตํ
กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
" กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า, (เพราะ) กรรม
ชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง, ส่วนบุคคลทำกรรม
ใดแล้ว ไม่ตามเดือดร้อน, กรรมนั้น เป็นกรรมดี
อันบุคคลทำแล้วดีกว่า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺกตํ ความว่า กรรมอันมีโทษยัง
สัตว์ให้เป็นไปในอบาย ไม่ทำเสียเลยดีกว่า คือประเสริฐ ได้แก่ยอดเยี่ยม.
สองบทว่า ปจฺฉา ตปฺปติ ความว่า เพราะกรรมนั้น ย่อมเผาผลาญ
ในกาลที่ตนตามระลึกถึงแล้ว ๆ ร่ำไป.
บทว่า สุกตํ ความว่า ส่วนกรรมอันไม่มีโทษ มีสุขเป็นกำไร
ยังสัตว์ให้เป็นไปในสุคติอย่างเดียว บุคคลทำแล้วดีกว่า.
สองบทว่า ยํ กตฺวา ความว่า บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่
เดือดร้อนในภายหลัง คือในกาลเป็นที่ระลึกถึง ชื่อว่า ย่อมไม่ตามเดือดร้อน
คือเป็นผู้มีโสมนัสอย่างเดียว, กรรมนั้นอันบุคคลทำแล้ว ประเสริฐ.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกและหญิงนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,
ก็แลชนทั้งหลายทำหญิงรับใช้นั้นให้เป็นไท ในที่นั้นนั่นแล แล้วทำให้
เป็นหญิงมีปกติประพฤติธรรม ดังนี้แล.
เรื่องหญิงขี้หึง จบ.

7. เรื่องอาคันตุกภิกษุ [229]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้
อาคันตุกะหลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " นครํ ยถา " เป็นต้น.

พวกภิกษุไปกรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระศาสดา


ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น เข้าจำพรรษาอยู่ในปัจจันตนครแห่ง
หนึ่ง ได้อยู่เป็นสุขในเดือนแรก. ในเดือนท่ามกลาง พวกโจรได้มาปล้น
บ้านอันที่โคจรของภิกษุเหล่านั้น จับชาวบ้านเป็นเชลยไป. จำเดิม
แต่กาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้พากันมาปฏิสังขรณ์ปัจจันตนครนั้น เพื่อ
ประโยชน์จะป้องกันพวกโจร จึงไม่ได้โอกาสจะอุปัฏฐากภิกษุเหล่านั้น
อย่างแข็งแรง. พวกภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาหาความสำราญมิได้ (ครั้น)
ออกพรรษาแล้ว ได้ไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ถวาย
บังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น


พระศาสดาทรงทำการปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น ตรัสถามว่า
" ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพากันอยู่สบายหรือ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูล
ว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์อยู่สบายแต่ในเดือนแรกเท่านั้น, ใน
เดือนท่ามกลาง พวกโจรได้ปล้นบ้าน, จำเดิมแต่กาลนั้นมนุษย์ทั้งหลาย
พากันปฏิสังขรณ์นคร ไม่ได้โอกาสจะบำรุงอย่างแข็งแรง; เพราะฉะนั้น
พวกข้าพระองค์ จึงจำพรรษาหาความสำราญมิได้ " จึงตรัสว่า " ช่างเถอะ
ภิกษุทั้งหลาย, พวกเธออย่าได้คิดเลย, ธรรมดาว่าความอยู่เป็นสุขสำราญ